เหตุการณ์แผ่นดินไหว ณ ตอนกลางของประเทศเมียนมา ในวันที่ 28 มีนาคม 2568 (ชุดที่ 3)

事業の継続に必要な企業の対応
– สิ่งที่จำเป็นต่อการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ
สรุป
  • จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในภาคกลางของประเทศเมียนมาเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2568 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะอาคารสูงมีการออกคำสั่งอพยพออกไปยังนอกอาคาร ซึ่งส่งผลให้ธุรกิจหยุดชะงักเป็นการชั่วคราว
  • ในอนาคต หากเกิดอาฟเตอร์ช็อคขนาดใหญ่ที่เมียนมาอีกครั้ง อาจจำเป็นต้องมีการจำกัดการใช้งานพื้นที่สำนักงาน ซึ่งส่งผลต่อความต่อเนื่องทางธุรกิจ
  • เพื่อให้การรับมือเบื้องต้นและการฟื้นฟูของธุรกิจหลังเกิดแผ่นดินไหวดำเนินไปได้อย่างราบรื่น การเตรียมความพร้อมโดยอ้างอิงจากแนวคิดแผนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP) มีความสำคัญเป็นอย่างมาก
  • โปรดอ้างอิงรายการตรวจสอบท้ายบทความในการเตรียมความพร้อมด้านความต่อเนื่องทางธุรกิจ

จุดประสงค์ของรายงานฉบับนี้

รายงานฉบับนี้จัดทำขึ้นโดยมีจุดประสงค์ในการรวบรวมสิ่งที่ควรพิจารณาในการเตรียมความพร้อมต่อการรับมืออาฟเตอร์ช็อคจากเหตุแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นในประเทศเมียนมา ตามที่ได้มีการระบุใน InterRisk Asia Report <2025 No.02> แผ่นดินไหวครั้งนี้ส่งผลกระทบอย่างมากต่ออาคารสูงหลายแห่งในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย อันเนื่องมาจากคลื่นแผ่นดินไหวคาบยาว ดังนั้นเนื้อหาหลักที่จะอธิบายต่อไปนี้จะเน้นไปที่หัวข้อที่จำเป็นสำหรับการรักษาความต่อเนื่องทางธุรกิจขององค์กร ซึ่งรวมถึงงานบริหารจัดการต่าง ๆ ของสำนักงานภายในประเทศไทยเป็นหลัก ในส่วนของพื้นที่ฐานการผลิตและฐานการกระจายสินค้า จะกล่าวถึงในบทความฉบับถัดไปโดยพิจารณาจากความจำเป็น และข้อมูลความเสียหายที่จะได้รับต่อไปในอนาคต

หัวข้อที่ควรพิจารณาในการรับมือแผ่นดินไหว

(1) มาตรการที่จำเป็นสำหรับการรักษาความต่อเนื่องทางธุรกิจ

พิจารณาว่าจะดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจต่อไปในรูปแบบใดภายใต้สถานการณ์ที่ทรัพยากรทางด้านบุคคลและวัตถุถูกจำกัด เช่น

ในส่วนของ “การดำเนินงานที่จำเป็น” จะทำการพิจารณาผ่านการวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจ (BIA:Business Impact Analysis) โดยในกระบวนการ BIA จะทำการวิเคราะห์กระบวนการและการบริการที่ควรให้ความสำคัญในการฟื้นฟูหรือรักษาความต่อเนื่องของการดำเนินงาน โดยพิจารณาจากมุมมองดังต่อไปนี้

  • ลดผลกระทบต่อยอดขายและกำไรให้เหลือน้อยที่สุด
  • ป้องกันการสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดจากการหยุดชะงักทางธุรกิจ
  • การรับผิดชอบในการจัดหาสินค้าและบริการให้กับลูกค้าและสังคม
  • รักษาภาพลักษณ์ขององค์กร
  • ป้องกันการเสียผลประโยชน์ของพนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

จากนั้นพิจารณาว่าองค์กรจะใช้เวลาเท่าไหร่ในการฟื้นฟูกระบวนการ การบริการที่มีความสำคัญ กล่าวคือพิจารณาระยะเวลาหยุดชะงักสูงสุดที่ยอมรับได้ ว่าจะอยู่ในหลักชั่วโมง วัน สัปดาห์ หรือเดือน และทำการประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง

นอกจากนี้ พิจารณาว่ากระบวนการและการบริการที่มีความสำคัญนั้นจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรอย่างไร ในกรณีที่เป็นสำนักงานใหญ่อาจจำเป็นต้องมีการใช้งานระบบโครงสร้าง เช่น ระบบข้อมูล และเครือข่ายที่มีความสำคัญ ในกรณีของธุรกิจการผลิตอาจจะต้องพิจารณาถึงเครื่องจักรการผลิต ชิ้นส่วนเครื่องจักร วัตถุดิบ หรือซัพพลายเออร์

โดยใน ISO22301 ได้มีการยกตัวอย่างทรัพยากรในการบริหารจัดการ ดังนี้

  • บุคลากร
  • ข้อมูล
  • สิ่งปลูกสร้าง สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน และระบบสาธารณูปโภคที่เกี่ยวข้อง (เช่น ไฟฟ้า)
  • สิ่งอำนวยความสะดวก อุปกรณ์และเครื่องมือ
  • ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • ระบบขนส่ง
  • เงินทุน
  • คู่ค้าทางธุรกิจ และซัพพลายเออร์

หลังจากที่ทำการระบุทรัพยากรที่จำเป็นต่อกระบวนการและการบริการที่สำคัญแล้ว จึงทำการประเมินความเสี่ยงที่ทรัพยากรดังกล่าวอาจไม่สามารถใช้งานได้ โดยในเหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้ที่ความเสียหายโดยส่วนมากนั้นเกิดกับสิ่งปลูกสร้าง สถานที่ปฏิบัติงาน ระบบขนส่ง หากมีกระบวนการและการบริการที่จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรดังกล่าว จำเป็นต้องมีการวางมาตรการรับมือเพื่อให้สามารถฟื้นฟูการดำเนินงานได้ภายในระยะเวลาเป้าหมายในการฟื้นฟู (RTO:Recovery Time Objective) ที่ได้กำหนดไว้โดยอ้างอิงจากระยะเวลาหยุดชะงักสูงสุดที่ยอมรับได้ที่ได้กล่าวไปในย่อหน้าก่อนหน้านี้

(2) มาตรการยกระดับการเฝ้าระวัง เช่น การตรวจสอบความพร้อมรับมือแผ่นดินไหว

ตรวจสอบความพร้อมในการรับมือแผ่นดินไหว และยกระดับการเฝ้าระวัง จากนั้นพิจารณามาตรการป้องกันภัยพิบัติ  ตัวอย่างมาตรการป้องกันภัยพิบัติ

(3) การตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ต่างๆ

ทำการตรวจสอบอาคารที่เสี่ยงต่อการได้รับความเสียหายเมื่อเกิดแผ่นดินไหว และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้งานในกรณีฉุกเฉิน นอกจากนี้องค์กรที่บริหารจัดการอาคารที่มีผู้ใช้จำนวนมาก หรืออาคารที่เกี่ยวข้องกับวัตถุอันตราย จะต้องดำเนินการตรวจสอบที่จำเป็นเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อบุคคลที่สาม ตัวอย่างการดำเนินการมีดังต่อไปนี้

ในการตรวจสอบอาคารนั้น เพื่อให้สามารถดำเนินการตรวจสอบความปลอดภัยหลังเกิดแผ่นดินไหวได้อย่างรวดเร็วและเหมาะสม ดังที่ได้อธิบายไว้ใน InterRisk Asia Report <2025 No.02> ต้องมีการอ้างอิงข้อมูลที่จำเป็นจากแบบแปลนอาคาร เช่น ข้อมูลสรุปการออกแบบ (ปีที่ก่อสร้างและโครงสร้าง) ตำแหน่งเสาโครงสร้าง แผนผังพื้น พร้อมทั้งจัดเก็บรูปถ่ายจุดที่ต้องตรวจสอบ นอกจากนี้สำหรับจุดที่เสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 เช่น รอยแตกร้าว การถ่ายภาพเป็นระยะ ๆ เพื่อบันทึกและตรวจสอบว่าความเสียหายมีการขยายวงกว้างจากแผ่นดินไหวครั้งต่อ ๆ ไปหรือไม่ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน

(4) การดูแลความปลอดภัยของพนักงาน

สำหรับบริษัท ฯลฯ ที่ตั้งอยู่ในชั้นสูงของอาคารสูง หากพบว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อพนักงาน จะต้องพิจารณามาตรการเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายดังกล่าว ตัวอย่างการดำเนินการมีดังต่อไปนี้

(5) มาตรการเฝ้าระวังเพื่อเตรียมพร้อมรับมือแผ่นดินไหว

การเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องจนกว่าความอันตรายของอาฟเตอร์ช็อคจะลดลง เพื่อลดความเสียหายและเพื่อให้สามารถฟื้นฟูได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างมาตรการมีดังนี้

(6) การส่งความช่วยเหลือไปยังพื้นที่ท้องถิ่น

นำเอาจุดเด่นของแต่ละองค์กรมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการสนับสนุนพื้นที่ท้องถิ่นในการรับมือภัยพิบัติ รวมถึงแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ตัวอย่างการดำเนินการมีดังต่อไปนี้

(7) การสื่อสารข้อมูล

กำหนดเส้นทางและวิธีการสื่อสารข้อมูลภายในองค์กรให้ชัดเจนเพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลต่าง ๆ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานอาคารสำนักงาน จะถูกส่งต่อไปยังทุกคนได้ ตัวอย่างการดำเนินการมีดังต่อไปนี้

(8) การจัดหาบุคลากรสำหรับปฏิบัติการรับมือภัยพิบัติ

พิจารณาบุคลากรที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติการรับมือภัยพิบัติของแต่ละองค์กร นอกจากนี้ เพื่อให้การรับมือภัยพิบัติเป็นไปอย่างรวดเร็วและแม่นยำ ให้พิจารณาจัดตั้งหน่วยงานที่มีหน้าที่สั่งการหากมีความจำเป็น ตัวอย่างการดำเนินการมีดังต่อไปนี้

(9) การประสานงานกับสำนักงานใหญ่ที่ประเทศญี่ปุ่น

ประสานงานแจ้งสถานการณ์ความเสียหายและแนวทางการรับมือไปยังสำนักงานใหญ่ที่ประเทศญี่ปุ่น เพื่อพิจารณาความจำเป็นในการสนับสนุนจากสำนักงานใหญ่ ตัวอย่างข้อมูลที่จะแจ้งไปยังสำนักงานใหญ่มีดังต่อไปนี้

สรุป

รายงานฉบับนี้ได้สรุปแนวทางการดำเนินงานที่จำเป็นการรักษาความต่อเนื่องของฝ่ายบริหารและงานจัดการต่าง ๆ ที่มุ่งเน้นไปที่สำนักงานใหญ่ในประเทศไทยเป็นหลัก เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการรับมือกับแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นตามมาภายหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เมียนมาในครั้งนี้ โดย ณ วันที่จัดทำรายงานนี้อาจจำเป็นต้องมีการดำเนินงานในลักษณะเร่งด่วนและเฉพาะหน้า ทว่าหลังจากที่ความเสี่ยงจากอาฟเตอร์ช็อคลดลงแล้ว สิ่งสำคัญคือต้องนำแนวทางการดำเนินงานในครั้งนี้มาพิจารณาเพื่อจัดทำหรือปรับปรุงแผนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP: Business Continuity Plan) ซึ่งทางผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าแนวทางการดำเนินงานที่ได้นำเสนอในรายงานฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างระบบการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

MS&AD InterRisk Research & Consulting, Inc.
Risk Management Division 1
Head of Risk Engineering Group 1
Masaki Sato

(อ้างอิง) รายการตรวจสอบเพื่อความต่อเนื่องทางธุรกิจ

ตารางการตรวจสอบเพื่อความต่อเนื่องทางธุรกิจ
ตารางการตรวจสอบเพื่อความต่อเนื่องทางธุรกิจ

MS&AD InterRisk Research Institute Co., Ltd. is a risk-related service company of the MS&AD Insurance Group, which conducts consulting related to risk management and research in a wide range of fields. 

 InterRisk Asia (Thailand) Co., Ltd. is a risk management company based in Bangkok, Thailand. We provide various risk consulting services in Southeast Asian countries, including fire risk surveys, natural disaster and industrial accident risk surveys for factories, warehouses, commercial facilities, etc., traffic risks, BCP formulation support, cyber risks, etc. 

For inquiry, please feel free to contact the below information, or nearest Mitsui Sumitomo Insurance or Aioi Nissay Dowa Insurance sales representatives.  

 
MS&AD InterRisk Research & Consulting, Inc. 
International Section, Risk Consulting Division 
TEL. +66-(0)-3-5296-8920 
https://www.irric.co.jp/en/corporate/index.php 

 
InterRisk Asia (Thailand) Co., Ltd.  
175 Sathorn City Tower, South Sathorn Road, Thungmahamek, Sathorn, Bangkok, 10120, Thailand 
TEL: +66-(0)-2679-5276 
FAX: +66-(0)-2679-5278 
https://www.interriskthai.co.th/ 

The purpose of this report is to provide our customers with the useful information for the occupational safety and health management. There is no intention to criticize any individuals and parties etc.

Copyright 2025 MS&AD InterRisk Research & Consulting, Inc. All Rights Reserved

Share:

Let us help you ensure business continuity

Talk to InterRisk and take the first step toward a safer, risk-free business