BCMS#14 กลยุทธ์ในการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ: เลือกแนวทางที่เหมาะสมกับองค์กร

strategic

ในโลกธุรกิจปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนรอบด้าน ทั้งภัยธรรมชาติ การโจมตีทางไซเบอร์ ระบบห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) อาจทำให้เกิดการหยุดชะงักของกระบวนการทางธุรกิจและส่งผลกระทบต่อองค์กรทั้งในด้านการเงิน ความน่าเชื่อถือ และความสามารถในการแข่งขัน ดังนั้น “การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ” (Business Continuity Management หรือ BCM) จึงกลายเป็นกลยุทธ์สำคัญที่องค์กรที่ควรให้ความสำคัญ

บทความนี้จะนำเสนอแนวทางเชิงกลยุทธ์ในการวางแผนและพัฒนาแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ พร้อมแนะนำแนวทางเบื้องต้น โดยอิงตามมาตรฐานสากลและแนวปฏิบัติที่ยอมรับในวงกว้าง

เข้าใจพื้นฐาน: BCM ไม่ใช่แค่แผน แต่คือ "กลยุทธ์"

Business Continuity Management (BCM) คือ กระบวนการจัดการอย่างเป็นระบบเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับเหตุการณ์ที่อาจทำให้ธุรกิจหยุดชะงัก โดยเป้าหมายคือ การรักษาความสามารถในการดำเนินงานต่อไปได้ ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ 

strategic game

การเลือกแนวทางเชิงกลยุทธ์

ตัวอย่างเบื้องต้นของแนวทางเชิงกลยุทธ์ ได้แก่

เน้นวิเคราะห์และตอบสนองต่อความเสี่ยง ผ่านการวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจ (Business Impact Analysis หรือ BIA) และการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) โดยอ้างอิงจาก ISO 31000:2018 (Risk Management Guidelines) และ ISO 22301:2019

ปัจจัยหลักในการตัดสินใจหรือวางแผนจะพิจารณาที่ความเสี่ยงเป็นหลัก โดยจะให้ความสำคัญกับพื้นที่หรือกระบวนการที่มีความเสี่ยงสูงก่อน เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และลดผลกระทบจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

แนวทางที่องค์กรดำเนินงานโดยให้ความสำคัญกับ การปฏิบัติตามข้อกำหนดภายนอกหรือภายใน อย่างเคร่งครัด เช่น กฎหมาย กฎระเบียบ มาตรฐาน หรือข้อกำหนดขององค์กรเอง เพื่อให้แน่ใจว่าองค์กรจะไม่ละเมิดหรือฝ่าฝืนข้อบังคับ

มุ่งเน้น “การทำตาม” จึงเหมาะสำหรับองค์กรที่มีข้อกำหนดชัดเจน เช่น กฎหมายแรงงาน กฎเกณฑ์ของหน่วยงานกำกับดูแล ฯลฯ เพื่อลดความเสี่ยงด้านกฎหมายหรือข้อตกลง เช่น การถูกปรับหรือฟ้องร้อง

แนวทางการวางแผนหรือดำเนินงานโดยเน้นที่ “ขีดความสามารถ (Capabilities)” ที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้บรรลุภารกิจหรือเป้าหมาย ซึ่งอาจเป็นความสามารถของบุคลากร ระบบ กระบวนการ หรือองค์กรโดยรวม 

ใช้กลยุทธ์ในการวางแผน เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นวิกฤต การเปลี่ยนแปลง หรือโอกาส โดยมุ่งเน้นไปที่ “สิ่งที่ต้องสามารถทำได้” เพื่อสร้างขีดความสามารถในการฟื้นตัว เช่น ระบบสำรองไฟฟ้า ระบบไอทีสำรอง หรือทีมตอบสนองฉุกเฉิน

การเลือกกลยุทธ์ในการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ ไม่ใช่เพียงแค่ “การเลือกเอาแผนสำรองที่มีต้นทุนน้อยที่สุด” แต่ต้องอาศัยความเข้าใจบริบทขององค์กรและการประเมินทางเลือกแบบรอบด้าน 

หัวใจของการวางกลยุทธ์ BCM

มีมาตรฐานอ้างอิงเพิ่มเติมสำหรับการพิจารณากลยุทธ์ในการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ ซึ่ง ISO/TS 22331:2018 เป็นเอกสารแนวทาง (Technical Specification) ที่เสริมจาก ISO 22301:2019 โดยเน้นเฉพาะเรื่อง การกำหนดกลยุทธ์ความต่อเนื่องทางธุรกิจ หรือที่เรียกว่า BC Strategy Development ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญในกระบวนการ BCM

ISO 22301 บอกให้คุณ “ต้องมีกลยุทธ์” แต่ ISO/TS 22331 จะบอกคุณว่า “จะวางกลยุทธ์อย่างไรให้เหมาะกับองค์กร”

หลักการสำคัญในการวางกลยุทธ์จาก ISO/TS 22331

กลยุทธ์ต้องสอดคล้องกับบริบทขององค์กร

ไม่มีกลยุทธ์แบบ “One size fits all” ต้องพิจารณาปัจจัยทั้งภายใน (Internal Factors) และภายนอก (External Factors) และใช้ผลจาก BIA และ Risk Assessment เป็นข้อมูลตั้งต้น

กลยุทธ์ต้องมีความยืดหยุ่น

กลยุทธ์ที่ดีควรมีความยืดหยุ่นและปรับขยายหรือลดได้ตามสถานการณ์ อาจพิจารณากลยุทธ์แบบ “ผสมผสาน” (blended strategy) เพื่อให้มีทางเลือกสำรองมากกว่าหนึ่งทาง

กลยุทธ์ต้องสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

กลยุทธ์ที่ดีต้องสามารถ นำไปปฏิบัติได้ ภายใต้ข้อจำกัดขององค์กรจริง เช่น บุคลากร งบประมาณ หรือระบบที่มีอยู่ โดยพิจารณาจากโครงสร้างองค์กร วัฒนธรรมการทำงาน รวมถึงทรัพยากรที่มี

กลยุทธ์ต้องสื่อสารได้ชัดเจนและสามารถฝึกซ้อมได้

กลยุทธ์ต้องสามารถสื่อสารให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าใจและพร้อมปฏิบัติ รวมถึงนำไปเขียนเป็นแผน BCP ได้ เพราะแม้ว่าเราจะมี “แผนดีแค่ไหน ถ้าทีมไม่เข้าใจ ก็ไม่มีประโยชน์ 😭”

บทสรุป

สุดท้ายนี้ องค์กรไหนที่สามารถวางกลยุทธ์ BCM ได้อย่างเหมาะสมและยืดหยุ่น จะไม่เพียง “อยู่รอด” ในช่วงวิกฤติ แต่ยังสามารถ “ฟื้นตัวและเติบโต” ได้อีกด้วย การเลือกเส้นทางที่เหมาะสมจึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับ “แนวทางใดดีที่สุด” แต่ขึ้นอยู่กับ “แนวทางใดเหมาะสมที่สุด” สำหรับบริบทขององค์กรคุณ

key

แชร์

Let us help you ensure business continuity

Talk to InterRisk and take the first step toward a safer, risk-free business