บทความที่แล้วเราได้พาไปสำรวจแนวทางการเลือกกลยุทธ์ (Strategy) สำหรับการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจให้เหมาะสมกับองค์กรตามหลักการของ ISO 22331 สำหรับหัวข้อในสัปดาห์นี้เราจะมาพูดถึงการนำคำแนะนำต่างๆใน ISO 22331 และ Good Practice Guideline 7.0 มาประยุกต์ใช้กับการเลือกกลยุทธ์ขององค์กรสำหรับแผนการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยพิจารณาบริบทจากเหตุการณ์แผนดินไหวที่เพิ่งผ่านพ้นไป
การเลือกกลยุทธ์ความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BC Strategies)
จากรูปด้านบน จะเห็นว่าก่อนการวิเคราะห์และเลือกกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจต่อเนื่อง มีหัวข้อ prerequisites ที่เราต้องพิจารณาหรือมีข้อมูลก่อนมาวิเคราะห์เลือกกลยุทธ์ หัวข้อนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญเลยก็ว่าได้ในการกำหนดว่ากลยุทธ์ที่เราเลือกมานั้นเหมาะสมกับองค์กรหรือสามารถทำได้รึเปล่า ซึ่งหัวข้อที่องค์กรต้องพิจารณาก่อนใน clause 4 ของ ISO 22331 ได้แก่
จะเห็นว่าหัวข้อเหล่านี้ล้วนเป็นหัวข้อสำคัญๆในข้อกำหนด ISO 22301 โดยเปรียบเสมือนเสาเข็มของระบบ BCMS เลยก็ว่าได้
ขั้นตอนการกำหนดและเลือกกลยุทธ์
ทั้ง ISO 22331 และ GPG แนะนำขั้นตอนในการกำหนดและเลือกกลยุทธ์สำหรับการดำเนินธุรกิจต่อเนื่องเหมือนกัน คือเริ่มจากการทำ GAP Analysis เปรียบเทียบระหว่างทรัพยากรและแผนรับมือที่มีในปัจจุบันกับข้อกำหนดด้านการดำเนินธุรกิจต่อเนื่องที่ได้จากผลลัพธ์การทำ BIA และ RA จากนั้นจึงเป็นการกำหนดกลยุทธ์ต่างๆที่เป็นไปได้ ก่อนจะเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับองค์กรในที่สุด
ตัวอย่างการทำ GAP Analysis โดยใช้บริบทเรื่องแผ่นดินไหว
GAP analysis เป็นเครื่องมือที่หลายๆองค์กรนิยมใช้ในการระบุช่องว่างระหว่างสถานการณ์ปัจจุบันกับเป้าหมายที่ต้องการ ซึ่งจะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานและทำให้การวางแผนกลยุทธ์ทำได้ดีขึ้น ในบทความนี้จึงขอยกตัวอย่างการทำ GAP analysis โดยอ้างอิงจากบริบทของแผ่นดินไหวที่เพิ่งเกิดขึ้นในเดือนที่ผ่านมาตามตารางด้านล่าง
จากตารางด้านบนเป็นการยกตัวอย่างการทำ GAP analysis เบื้องต้นเพื่อให้เห็นภาพคร่าวๆ อย่างไรก็ตาม ในการกำหนดกลยุทธ์ความต่อเนื่องขององค์กรจริงๆจะต้องมีการเทียบระหว่าง เงื่อนไขที่ต้องการเพื่อความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business continuity requirements) กับ ความสามารถในการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน (Business continuity capabilities) เพื่อทำการระบุช่องว่างที่เกิดขึ้นซึ่งจะนำไปกำหนดกลยุทธ์ต่อไป
ตัวอย่างกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจต่อเนื่องกับประเภททรัพยากรต่างๆ
เมื่อเราทราบช่องว่างที่เกิดขึ้นจากการทบทวนแล้ว อีกหนึ่งเทคนิคที่ทั้งมาตรฐาน ISO และ GPG แนะนำคือการแบ่งกลุ่มกลยุทธ์ความต่อเนื่องตามความเร่งด่วนของช่วงระยะเวลาในการฟื้นฟู (RTO) ที่ถูกระบุในขั้นตอนการทำ BIA ดังรูปตัวอย่างข้างล่าง
จากรูปตัวอย่างจะเห็นว่ากิจกรรมหรือทรัพยากรที่มี RTO น้อยมากๆ (ในประเภท A) ต้องการกลยุทธ์ความต่อเนื่องที่ให้ศักยภาพในการฟื้นฟูที่รวดเร็วที่สุด และมักต้องลงทุนสูงที่สุด เมื่อเทียบกับกิจกรรมที่ RTO อยู่ในประเภท D ที่มีความเร่งด่วนน้อยกว่า ดังตารางตัวอย่างกลยุทธ์ด้านล่างเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
บทความนี้เป็นเพียงส่วนนึงของคำแนะนำในจากมาตรฐาน ISO 22331 เท่านั้น การระบุและเลือกใช้กลยุทธ์ให้เหมาะสมกับองค์กรนั้นต้องอาศัย องค์ความรู้หลายๆส่วน รวมถึงการประเมินความเสี่ยงเฉพาะทาง อย่างเช่นเรื่องภัยธรรมชาติจากน้ำท่วมและแผ่นดินไหว ซึ่งทีมงาน InterRisk นั้นมีความเชี่ยวชาญ หากองค์กรของท่านกำลังมองหาทางลดความเสี่ยงต่างๆที่อาจทำให้ธุรกิจของท่านหยุดชะงัก ติดต่อเราได้เลยวันนี้ หรือหากชื่นชอบบทความเกี่ยวกับ BCP, BCM สามารถอ่านบทความอื่นๆของเราเพิ่มเติมได้ด้านล่าง