สังคมในสมัยปัจจุบันมีการใช้เวลาไปกับการออนไลน์มากยิ่งขึ้น ธุรกิจก็ต้องมีการแข่งขันเป็นดิจิตัล จึงทำให้คนที่มุ่งร้ายเห็นสิ่งนี้เป็นโอกาสเพื่อการทำสิ่งที่เอาเปรียบในหลายๆด้าน การให้ความสำคัญในความปลอดภัยด้านไซเบอร์จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากเพื่อที่จะอยู่รอดในสังคมดิจิตอลในปัจจุบัน
การทำผิดกฎหมายในเรื่องความปลอดภัยนั้นโดยส่วนมากจะถูกปิดจากองค์กรด้วยเหตุผลหลายๆอย่าง เช่น การรักษาภาพพจน์ เป็นต้น สิ่งที่เห็นในข่าวเป็นเพียงแค่ส่วนน้อยในจำนวนการโจมตีจากไซเบอร์ในโลกของเรา ในประเทศไทยนั้นจำนวนที่มีการแจ้งเกี่ยวกับความผิดทางคอมพิวเตอร์นั้นมีมากถึง 3,797 คดีในปี 2016 (ข้อมูลจาก สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์กรมหาชน))
วิธีการเพื่อปกป้องคอมพิวเตอร์, เครือข่ายไร้สาย,โปรแกรมและข้อมูลจากการคุกคามเหล่านี้เรียกว่าความปลอดภัยด้านไซเบอร์ (Cyber Security) หรือการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล (Information Security)
ในประเทศไทยนั้นระดับการจัดการในเรื่องความตระหนักในความปลอดภัยยังขาดเป็นอย่างมากทั้งในภาครัฐและเอกชน จึงทำให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) ได้สร้าง ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (ThaiCERT) ขึ้นในปี 2015 เพื่อทำหน้าที่ในการตรวจสอบระบบของรัฐบาลเพื่อปกป้องจากการคุกคาม ในปัจจุบันในประเทศไทยมีผู้เชี่ยวชาญในเรื่องความปลอดภัยด้านไซเบอร์ประมาณ 100 คน แต่ทว่าเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอาเซียน เช่น เกาหลีใต้, อินเดีย หรือ ญี่ปุ่นแล้วประเทศไทยยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างน้อย
Ransomware : เป็นมัลแวร์ที่มีการจ่ายค่าไถ่เพื่อหยุดการล๊อคการเข้าวินโดวส์หรือโฟลเดอร์
Spyware: เป็นมัลแวร์ที่มีการบันทึกข้อมูล/การกระทำของยูสเซอร์ เช่น พาสเวิร์ดที่มีการพิมพ์ลงไปในคอมพิวเตอร์ และทำปล่อยข้อมูลไปยังผู้ที่หวังการกระทำที่มุ่งร้าย
Botnets: เป็นมัลแวร์ถูกเขียนขึ้นเพื่อควบคุมกลุ่มคอมพิวเตอร์เพื่อโจมตีหรือขโมยข้อมูล เช่นการส่งเมลสแปมเพื่อทำให้เซอร์เวอร์โหลดเกินไป หรือที่เรียกว่า denial-of-service (การโจมตีแบบ DoS)
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมัลแวร์จากบทความนี้ (ลิงค์ไปยังบทความมัลแวร์)