อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่าทั่วโลกกำลังเผชิญหน้ากับวิกฤติโรคระบาดโควิด 19 ที่เกิดขึ้นเมื่อปลายปี 2562 และยังคงดำเนินอยู่จนถึงปัจจุบัน ทำให้การดำเนินงานของบริษัทหลายๆ แห่งหยุดชะงัก แต่ในภาคการผลิตมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งยังคงมีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุภายในโรงงานอุตสาหกรรม
จากข้อมูลสถิติของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย พบว่าสถาณการณ์อัคคีภัยของประเทศไทยในปี 2563 มีมูลค่าความเสียหายที่เกิดจากอัคคีภัยสูงถึง 847 ล้านบาท ซึ่งมีมูลค่ามากกว่าความเสียหายในปี 2562 มากถึง 2 เท่า (มูลค่าความเสียหายในปี 2562 คือ 483 ล้านบาท) ถึงแม้ว่าจำนวนครั้งของการเกิดอัคคีภัยในปี 2562 (1,312 ครั้ง) จะมากกว่าในปี 2563 (1,248 ครั้ง) ก็ตาม
ภาพที่ 1 ข้อมูลสถิติจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
จากการเกิดอัคคีภัยที่ผ่านมาพบว่า มูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเพลิงไหม้สถานประกอบการโรงงานแต่ละครั้งมีมูลค่าสูงถึงหลักสิบล้านบาท จะเห็นได้ว่าการเกิดอัคคีภัยภายในโรงงานนั้นรุนแรงและสร้างความเสียหายมาก จากข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรมในปี 2562 และ 2563 พบว่าจำนวนอัคคีภัยที่เกิดในโรงงานคือ 42 และ 46 ครั้งตามลำดับ ซึ่งเป็นจำนวนที่ใกล้เคียงกัน กลุ่มประเภทโรงงานที่เกิดอัคคีภัยมากที่สุดในปี 2562 และ 2563 คือ กลุ่มโรงงานซ่อมบำรุง การหล่อหลอมโลหะ โกดังเก็บสินค้า และกลุ่มโรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับพลาสติก โฟม กระดาษ ยาง
นอกจากนี้สถิติจากบริษัทประกันภัย พบว่ากว่า 70% ของการเกิดเพลิงไหม้ภายในโรงงานส่วนใหญ่จะเกิดในช่วงเวลาที่ไม่มีผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว จะมีจำนวนพนักงานที่น้อยและบางโรงงานมีการจำกัดพนักงานเข้าพื้นที่เนื่องจากมีวิกฤตโรคระบาด ทำให้การเฝ้าระวังอาจไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะจุดอับต่างๆ ภายในโรงงาน ส่งผลให้การตอบสนองต่อสถานการณ์เพลิงไหม้เป็นไปด้วยความล่าช้า และส่งผลให้เพลิงไหม้ลุกลามเป็นวงกว้างเกินกว่าจะควบคุม
ตัวอย่างต่อไปนี้คือ ตัวอย่างเหตุการณ์ไฟไหม้ที่เกิดขึ้นบางส่วนในช่วงโควิด-19 ที่สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินให้กับผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม
เกิดเหตุเพลิงไหม้โกดังเก็บเยื่อกระดาษ จังหวัดชลบุรี เมื่อเวลาประมาน 20.00 น. ในที่เกิดเหตุมีเพลิงลุกไหม้อย่างรุนแรง เนื่องจากมีกระดาษกว่า 3,000 ตัน ที่เป็นเชื้อไฟอย่างดี ทำให้ไฟไหม้อย่างรวดเร็ว จนโครงสร้างหลังคาบางส่วนทรุดลงมา เจ้าหน้าที่ดับเพลิงฉีดน้ำสกัดเพลิงไม่ให้ลุกลาม ใช้รถแบกโฮโกยกระดาษออกมาเพื่อให้ง่ายต่อการฉีดน้ำดับเพลิง และเคลื่อนย้ายถังแก๊สในที่เกิดเหตุเพื่อป้องกันการระเบิด ซึ่งใช้เวลาในการระงับเหตุกว่า 18 ชั่วโมงและรถดับเพลิงกว่า 30 คันจึงสามารถควบคุมเพลิงได้ ในด้านของสาเหตุ เจ้าหน้าที่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากก้นบุหรี่ที่มีคนทิ้งไว้และสะเก็ดไฟได้ไปติดกับกองกระดาษ จนทำให้ให้เกิดเพลิงไหม้ดังกล่าว จากเพลิงไหม้ครั้งนี้มีมูลค่าความเสียหายกว่า 60 ล้านบาท
เมื่อเวลา 22.00 น. มีเหตุเพลิงไหม้โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ปลวกแดง ทางเจ้าหน้าที่ดับเพลิงได้ใช้รถดับเพลิงมากกว่า 20 คัน ในการดับเพลิงที่ลุกลามอย่างหนัก เนื่องจากภายในโรงงานมีไม้จำนวนมากที่เป็นเชื้อเพลิงอย่างดี เจ้าหน้าที่ใช้เวลาดับเพลิงกว่า 3 ชั่วโมง จึงควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ และยังคงเฝ้าระวังพื้นที่เพื่อป้องกันเปลวไฟปะทุขึ้นมาอีก สาเหตุเบื้องต้น ทางพนักงานระบุว่าไฟได้ลุกไหม้ขึ้นบริเวณตู้เครื่องทำน้ำอุ่นน้ำเย็น ก่อนที่จะลามไปติดกล่องกระดาษและวัสดุที่อยู่ภายในอาคาร ซึ่งคาดว่าเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร มูลค่าความเสียหายจากเพลิงไหม้ครั้งนี้มากกว่า 70 ล้านบาท
เมื่อเวลาประมาณ 23.20 น. มีเหตุเพลิงไหม้ภายในโกดังเก็บสารเคมี โดยสารเคมี คือ โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ ที่ใช้เป็นสารถนอมอาหาร ผลิตกระดาษ ฟอกสีผ้า สบู่ ซึ่งภายในโกดังเก็บสารเคมีจำนวนมากจึงทำให้ไฟลุกลามเป็นวงกว้าง และเกิดเสียงระเบิดออกมาเป็นระยะ เจ้าหน้าที่ดับเพลิงใช้รถน้ำฉีดดับเพลิงกว่า 10 คันแต่ไม่เป็นผล จึงทำการใช้โฟมในการควบคุมเพลิง ใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมงในการควบคุมเพลิงให้อยู่ในวงจำกัด จากการสอบถามจากเจ้าของโรงงาน ก่อนเกิดเพลิงไหม้ พนักงานได้ทำการขนถังบรรจุสารเคมีดังกล่าวมาเก็บในโกดัง ในระหว่างขนย้ายได้เกิดเพลิงไหม้บริเวณถังสารเคมี ซึ่งสาเหตุเบื้องต้นคาดว่าเกิดจากประกายไฟที่ถังสารเคมี เนื่องจากเป็นถังเหล็ก มูลค่าความเสียหายจากเพลิงไหม้ครั้งนี้สูงถึงหลักสิบล้าน
จากเหตุการณ์อัคคีภัยข้างต้นในโรงงานอุตสาหกรรม ล้วนแล้วแต่เกิดความสูญเสียอย่างมหาศาล ซึ่งเหตุอัคคีภัยที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่แล้วมาจากต้นเพลิงเล็กๆและลุกลามเป็นวงกว้างในช่วงเวลาที่ไม่มีพนักงานเฝ้าระวังอยู่ภายในโรงงาน ดังนั้น การตรวจสอบความปลอดภัยในโรงงานจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น ความเสี่ยงต่างๆ ที่พนักงานในพื้นที่มองข้าม เช่น การตรวจสอบสายไฟ ระบบไฟต่างๆ การขนย้ายสารเคมีและการจัดเก็บ ความเหมาะสมของถังดับเพลิงในพื้นที่การทำงาน อีกทั้งการจัดเก็บของในพื้นที่การทำงาน เป็นต้น
อ้างอิง
http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/21.aspx
http://direct.disaster.go.th/inner.directing-7.191/cms/inner_1733/5025.3/
https://www.mreport.co.th/news/government-news/333-accident-in-factory-thailand-2020
http://reg3.diw.go.th/safety/wp-content/uploads/2021/05/accident-2563.pd
fhttp://www.rtrc.in.th/ewt_dl.php?nid=1588
https://tna.mcot.net/region-545159
https://mgronline.com/local/detail/9630000097279
https://www.newtv.co.th/news/65461
https://www.thairath.co.th/news/local/east/1942951
https://hilight.kapook.com/view/206946
https://thaiza.com/news/local/481742/
https://www.siamsafety.com/index.php?page=news/news03122020_2
https://www.thairath.co.th/news/local/central/1988616
MS&AD InterRisk Research & Consulting, Inc. is a MS&AD Insurance Group company specialized in risk management survey research and consulting services. For inquiry about consultation and seminar etc. for companies expanding business in Thailand, please feel free to contact the nearest Mitsui Sumitomo Insurance or Aioi Nissay Dowa Insurance sales representatives.
MS&AD InterRisk Research & Consulting, Inc.
International Section, Corporate Planning Department
TEL.03-5296-8920
http://www.irric.co.jp
InterRisk Asia (Thailand) is a MS&AD Insurance Group company which was established in Thailand to provide risk management services, such as fire safety, flood risk management, electrical safety and risk consulting services, such as automotive risk assessment, occupational safety and burglary risk survey to our clients in Thailand. For inquiry, please feel free to contact us.
InterRisk Asia (Thailand) Co., Ltd.
175 Sathorn City Tower, South Sathorn Road, Thungmahamek, Sathorn, Bangkok, 10120, Thailand
TEL: +66-(0)-2679-5276
FAX: +66-(0)-2679-5278
The purpose of this report is to provide our customers with the useful information for the occupational safety and health management. There is no intention to criticize any individuals and parties etc. |
Copyright 2019 MS&AD InterRisk Research & Consulting, Inc. All Rights Reserved