ปริมาณน้ำฝนจนถึงช่วงปลายเดือนพฤษภาคมเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาแล้วมีปริมาณเพิ่มขึ้นมากโดยเฉพาะทางตอนใต้ของประเทศ ปริมาณน้ำฝนสะสมในประเทศโดยรวมอยู่ในช่วง 200-1,200 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นผลกระทบจากลานีญา โดยหากเทียบกับปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยแล้ว ปริมาณน้ำฝนสะสมในปีนี้จัดว่าสูงขึ้นมากโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือและภาคใต้
หมายเหตุ : ค่าปกติ คือ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยภายในระยะเวลา 30 ปี (พ.ศ. 2524-2553)
จากการพยากรณ์อากาศประจำเดือนโดยกรมอุตุนิยมวิทยา คาดว่าประมาณ 40-60% ของพื้นที่จะมีฝนตกอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งแรกของเดือนมิถุนายน และอาจมีช่วงที่มีฝนตกหนักในบางพื้นที่ ในส่วนของพื้นที่ภาคตะวันออกและตะวันตกเฉียงใต้นั้นอาจมีปริมาณฝนเพิ่มสูงขึ้นถึงประมาณ 60-80% ของพื้นที่ โดยมีฝนตกในหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ หลังจากนั้นปริมาณและการกระจายตัวของฝนจะลดลงในช่วงครึ่งหลังของเดือน ซึ่งเป็นผลมาจากการอ่อนกำลังลงของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศในช่วงครึ่งแรกของเดือน นอกจากนี้อาจมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นระยะ และร่องมรสุมพาดผ่านตามภาคใต้ของจีนในช่วงครึ่งหลังของเดือน
การคาดการณ์ปริมาณฝนในเดือนมิถุนายน ปริมาณฝนสุทธิของประเทศไทยตอนบนจะมีความใกล้เคียงกับค่าปกติ ในขณะที่ปริมาณน้ำฝนสุทธิของภาคใต้จะต่ำกว่าค่าปกติประมาณ 10%
ข้อควรระวังในเดือนมิถุนายน จะมีพายุโซนร้อนที่ก่อตัวในภูมิภาคตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือเคลื่อนผ่านฟิลิปปินส์และเข้าสู่ทะเลจีนใต้ ดังนั้นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่ปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้มีฝนตกเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันตกเฉียงใต้และชายฝั่งภาคตะวันออก
หมายเหตุ : ค่าปกติ คือ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยภายในระยะเวลา 30 ปี (พ.ศ. 2524-2553)
ปริมาณน้ำกักเก็บ (เขื่อนสิริกิต์และเขื่อนภูมิพล)
ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนสิริกิต์ (39%) ณ วันที่ 29 พฤษภาคม 2565
ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนภูมิพล (45%) ณ วันที่ 29 พฤษภาคม 2565
ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนสิริกิติ์จนถึงวันที่ 29 พฤษภาคมเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาเล็กน้อย แม้ว่าปริมาณน้ำกักเก็บในช่วงต้นปีจะอยู่ในระดับต่ำ ในส่วนของเขื่อนภูมิพลนั้นมีแนวโน้มที่ปริมาณน้ำกักเก็บจะแตกต่างจากปีที่ผ่านมา โดยมีปริมาณน้ำกักเก็บเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือ
ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนป่าสัก (30%) ณ วันที่ 29 พฤษภาคม 2565
ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนแควน้อย (38%) ณ วันที่ 29 พฤษภาคม 2565
ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนแควน้อยและเขื่อนป่าสักเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงต้นปีนั้นต่ำกว่ามาก ทว่าปริมาณน้ำกักเก็บจะสูงกว่าปีที่ผ่านมาเล็กน้อย
กระแสน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน
ระดับน้ำของแม่น้ำยมเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นเดือนพฤษภาคม โดยเฉพาะระดับน้ำของแม่น้ำในจังหวัดพิจิตร ในส่วนของแม่น้ำปิง วัง และน่านนั้นระดับน้ำไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่ช่วงต้นเดือนพฤษภาคม นอกจากนี้ระดับน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาเหนือเขื่อนเจ้าพระยานั้นก็มีระดับน้ำที่ต่ำกว่าฝั่งแม่น้ำเช่นกัน จึงไม่มีเรื่องน่าวิตกกังวลด้านเหตุน้ำท่วมแต่อย่างใด
สถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา
29 พฤษภาคม 2565
หมายเหตุ : – ตัวเลขในวงเล็บแสดงถึงอัตราการไหลของน้ำในหน่วย ลูกบาศก์เมตร/วินาที
– ตัวเลขที่ขีดเส้นใต้แสดงระดับน้ำที่สูงกว่า (+) หรือต่ำกว่า (-) เทียบกับฝั่งแม่น้ำ โดยมีหน่วยเป็นเมตร
– ระดับน้ำ U/S และ D/S มีหน่วยเป็นเมตร
กระแสน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง
ระดับน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ระดับน้ำต่ำกว่าฝั่งแม่น้ำอย่างเห็นได้ชัด ไม่มีสถานการณ์น่าเป็นกังวลแต่อย่างใด
สถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา
29 พฤษภาคม 2565
หมายเหตุ : – ตัวเลขสีดำแสดงถึงอัตราการไหลของน้ำในหน่วย ลูกบาศก์เมตร/วินาที
– ตัวเลขในวงเล็บแสดงถึงอัตราการไหลของน้ำในหน่วย ลูกบาศก์เมตร/วัน
– ตัวเลขที่ขีดเส้นใต้แสดงถึงระดับน้ำที่สูงกว่า (+) หรือต่ำกว่า (-) เทียบกับฝั่งแม่น้ำ โดยมีหน่วยเป็นเมตร
__________________________________________________________________________________________________________
__________________________________________________________________________________________________________
__________________________________________________________________________________________________________