ปริมาณน้ำฝนจนถึงช่วงต้นเดือนกรกฎาคมเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา จัดว่าเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ทางตอนใต้ของประเทศ ปริมาณน้ำฝนสะสมในประเทศโดยรวมอยู่ในช่วง 800-2,000 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นผลกระทบจากลานีญา โดยหากเทียบกับปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยแล้ว ปริมาณน้ำฝนสะสมในปีนี้จัดว่าสูงขึ้นมากโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือและภาคใต้
หมายเหตุ : ค่าปกติ คือ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยภายในระยะเวลา 30 ปี (พ.ศ. 2524-2553)
จากการพยากรณ์อากาศประจำเดือนโดยกรมอุตุนิยมวิทยา ปริมาณและการกระจายตัวของฝนในช่วงครึ่งแรกของเดือนกรกฎาคมจะยังคงอยู่ที่ 20-30% ของพื้นที่ ซึ่งจัดว่าอยู่ในระดับต่ำ หลังจากนั้นปริมาณและการกระจายตัวของฝนจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของเดือนกรกฎาคม โดยจะมีฝนตกในหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักในบางพื้นที่โดยเฉพาะภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงใต้เนื่องจากการอ่อนกำลังลงของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่ปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยในช่วงครึ่งแรกของเดือน จากนั้นมรสุมตะวันออกเฉียงใต้จะค่อย ๆ มีกำลังแรงขึ้น และจะมีร่องมรสุมพาดผ่านตามแนวภาคเหนือเป็นระยะในช่วงครึ่งหลังของเดือนกรกฎาคม
ในส่วนของการคาดการณ์ปริมาณน้ำฝนในเดือนกรกฎาคม ปริมาณน้ำฝนส่วนมากจะมีความใกล้เคียงกับค่าปกติ ยกเว้นปริมาณน้ำฝนสุทธิของพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่อาจต่ำกว่าค่าปกติประมาณ 10%
ข้อควรระวังในเดือนกรกฎาคม จะมีพายุโซนร้อนที่ก่อตัวในภูมิภาคตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ และเคลื่อนผ่านประเทศฟิลิปปินส์เข้าสู่ทะเลจีนใต้ ดังนั้นมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้และชายฝั่งตะวันออก
หมายเหตุ : ค่าปกติ คือ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยภายในระยะเวลา 30 ปี (พ.ศ. 2524-2553)
ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนสิริกิต์ (37%) ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2565
ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนภูมิพล (42%) ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2565
ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนสิริกิติ์จนถึงวันที่ 4 กรกฎาคมมีระดับสูงกว่าปีที่ผ่านมาเล็กน้อย แม้ว่าปริมาณน้ำกักเก็บในช่วงต้นปีจะอยู่ในระดับต่ำ ในส่วนของเขื่อนภูมิพล ปริมาณน้ำกักเก็บค่อนข้างสูงกว่าปีที่ผ่านมา แม้ว่าปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มสูงขึ้น แต่ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนทั้งสองกลับมีแนวโน้มลดลงซึ่งต่างจากปีพ.ศ. 2554 อย่างสิ้นเชิง
ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนป่าสัก (19%) ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2565
ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนแควน้อย (29%) ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2565
ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนแควน้อยและเขื่อนป่าสักมีระดับต่ำกว่าช่วงต้นปีค่อนข้างมาก ทว่าปริมาณน้ำกักเก็บมีระดับสูงกว่าปีที่ผ่านมาเล็กน้อย
กระแสน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน
ระดับน้ำของแม่น้ำปิง วัง ยม และน่านมีความใกล้เคียงกับระดับน้ำในช่วงต้นเดือนมิถุนายน นอกจากนี้ระดับน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาเหนือเขื่อนเจ้าพระยามีระดับต่ำกว่าฝั่งมาก จึงไม่มีความน่าวิตกกังวลด้านเหตุน้ำท่วมแต่อย่างใด
สถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา
4 กรกฎาคม 2565
หมายเหตุ : – ตัวเลขในวงเล็บแสดงถึงอัตราการไหลของน้ำในหน่วย ลูกบาศก์เมตร/วินาที
– ตัวเลขที่ขีดเส้นใต้แสดงระดับน้ำที่สูงกว่า (+) หรือต่ำกว่า (-) เทียบกับฝั่งแม่น้ำ โดยมีหน่วยเป็นเมตร
– ระดับน้ำ U/S และ D/S มีหน่วยเป็นเมตร
กระแสน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง
ระดับน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างมีความใกล้เคียงกับระดับน้ำในช่วงต้นเดือนมิถุนายน โดยมีระดับต่ำกว่าฝั่งแม่น้ำอย่างเห็นได้ชัด จึงไม่มีความน่ากังวลเรื่องเหตุน้ำท่วมแต่อย่างใด
สถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา
4 กรกฎาคม 2565
หมายเหตุ : – ตัวเลขสีดำแสดงถึงอัตราการไหลของน้ำในหน่วย ลูกบาศก์เมตร/วินาที
– ตัวเลขในวงเล็บแสดงถึงอัตราการไหลของน้ำในหน่วย ลูกบาศก์เมตร/วัน
– ตัวเลขที่ขีดเส้นใต้แสดงถึงระดับน้ำที่สูงกว่า (+) หรือต่ำกว่า (-) เทียบกับฝั่งแม่น้ำ โดยมีหน่วยเป็นเมตร
References
__________________________________________________________________________________________________________
__________________________________________________________________________________________________________
__________________________________________________________________________________________________________