เปรียบเทียบกับปีพ.ศ. 2565 พบว่าปริมาณน้ำฝนสุทธิตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 28 กุมภาพันธ์ของปีนี้มีระดับต่ำกว่ามากโดยเฉพาะในพื้นที่ตอนบนของประเทศ โดยปริมาณน้ำฝนสุทธิทางตอนบนของประเทศอยู่ในช่วง 50 – 200 มิลลิเมตร ในขณะที่ปริมาณน้ำฝนสุทธิทางตอนบนของประเทศส่วนใหญ่ในปีนี้อยู่ที่ 5 – 50 มิลลิเมตร
ในเดือนมีนาคม สภาพอากาศในช่วงครึ่งแรกของเดือนจะร้อนเป็นบางช่วง รวมถึงมีอากาศร้อนทั่วทั้งประเทศ ซึ่งอาจมีอุณหภูมิสูงสุดถึง 40 – 43 องศาเซลเซียสในหลายพื้นที่โดยเฉพาะทางตอนบนของประเทศ อย่างไรก็ตามจะมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมเป็นระยะ ๆ ส่งผลให้มีฝนตกเป็นระยะด้วยเช่นกัน ซึ่งในภาพรวมนั้นมีอุณหภูมิเฉลี่ยใกล้เคียงกับค่าปกติและมีปริมาณฝนต่ำกว่าค่าปกติเล็กน้อย
ประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทานได้ดำเนินการตามมาตรการบริหารจัดการน้ำฤดูฝน 13 มาตรการ ในปีพ.ศ. 2565 โดยมีการสนับสนุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ เช่น เครื่องสูบน้ำ เป็นจำนวน 2,260 เครื่อง ในพื้นที่ 58 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากเหตุน้ำท่วม โดยที่งบประมาณน้ำทั่วประเทศหลังฤดูฝน (วันที่ 1 พฤศจิกายน) นั้นอยู่ที่ 64,000 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งมากกว่าปีพ.ศ. 2564 อยู่ที่ 5,495 ล้าน ลบ.ม. ในส่วนของการบริหารจัดการน้ำฤดูแล้งในปีนี้ ได้มีการเตรียมน้ำไว้ 43,740 ล้าน ลบ.ม. โดยมีน้ำปริมาณ 14,074 ล้าน ลบ.ม. ในเขื่อนหลัก 4 แห่งบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา แบ่งเป็น 9,100 ล้าน ลบ.ม. (62%) สำรองไว้สำหรับช่วงฤดูแล้ง และ 5,474 ล้าน ลบ.ม. (38%) สำรองไว้สำหรับช่วงต้นฤดูฝน
ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนสิริกิต์ (58%) ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์
ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนภูมิพล (75%) ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์
ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์มีแนวโน้มลดลง โดยปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนสิริกิติ์ในปัจจุบันต่ำกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีพ.ศ. 2554 ที่เกิดน้ำท่วมใหญ่เล็กน้อย ในทางกลับกัน ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนภูมิพลนั้นมีปริมาณมากกว่าปีพ.ศ. 2554 และ 2565
ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนป่าสัก (55%) ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์
ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนแควน้อย (60%) ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์
ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนป่าสักและเขื่อนแควน้อยมีแนวโน้มใกล้เคียงกัน เนื่องจากมีปริมาณน้ำกักเก็บต่ำกว่าปีพ.ศ. 2565 แต่สูงกว่าปีพ.ศ. 2554 โดยที่ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนทั้งสองแห่งมีแนวโน้มลดลงเช่นเดียวกัน
ระดับน้ำในแม่น้ำปิง วัง ยม และน่าน ส่วนมากอยู่ในระดับต่ำ เช่น ระดับน้ำในแม่น้ำน่านที่จังหวัดน่าน พิษณุโลก และนครสวรรค์ มีระดับต่ำกว่าตลิ่ง 7-8 เมตร โดยที่ระดับน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาเหนือเขื่อนเจ้าพระยาอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือนที่ผ่านมา (มกราคม)
สถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา
28 กุมภาพันธ์ 2566
อัตราการไหลของแม่น้ำเจ้าพระยาด้านล่างเขื่อนเจ้าพระยามีความใกล้เคียงกับอัตราการไหลของแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงเดือนมกราคม (70 ลบ.ม./วินาที) โดยเมื่อเปรียบเทียบกับฤดูฝนที่มีอัตราการไหลมากกว่า 800 ลบ.ม./วินาที จึงไม่มีความน่ากังวลเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างแต่อย่างใด
สถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา
28 กุมภาพันธ์ 2566
อ้างอิง
http://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/yearRain.php
https://www.tmd.go.th/forecast/monthly
http://water.rid.go.th/flood/flood/daily.pdf
https://www1.rid.go.th/index.php/th/2019-04-26-19-42-45/1473-30-01-2566
https://www3.tmd.go.th/media/forecast-threemonthcountry/newsjfm_2023.pdf
https://www.thaiwater.net/water/dam/large
http://water.rid.go.th/flood/plan_new/chaophaya/Chao_up.php?cal2=24022023
http://water.rid.go.th/flood/plan_new/chaophaya/Chao_low.php?cal2=24022023