สถานการณ์น้ำของประเทศไทยในปัจจุบัน

September 27, 2023
Sutiwat Prutthiprasert

สถานการณ์น้ำของประเทศไทยในปัจจุบัน

[สรุป]

  • ปริมาณน้ำฝนของปีพ.ศ. 2566 ต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2565)
  • ค่าดัชนี ONI บ่งบอกว่าปรากฏการณ์เอลนีโญนั้นไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ นอกจากนี้กรมอุตุนิยมวิทยายังได้ออกประกาศว่าประเทศไทยได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญมาตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายน และจะยังคงต่อเนื่องไปจนถึงช่วงเดือนมีนาคมของปีถัดไป
  • แม้ว่าโดยภาพรวมแล้วประเทศไทยจะยังคงประสบปัญหาภัยแล้ง แต่อาจมีฝนตกหนักในบางพื้นที่
  • ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนหลักในบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนเหนือมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตามปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนป่าสักนั้นอยู่ในระดับวิกฤต
  • ระดับน้ำของแม่น้ำปิง วัง ยม และน่าน ลดลงเล็กน้อยจากเดือนที่ผ่านมา และควรมีการสังเกตการณ์สถานการณ์ของแม่น้ำในจังหวังสุโขทัยอย่างใกล้ชิด

ปริมาณน้ำฝน

แผนภาพที่ 1: สถานการณ์ฝน (ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา)

          เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกันยายนปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2565) พบว่าปริมาณน้ำฝนสะสมของปีนี้ต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะทางภาคเหนือและภาคกลางดังแผนภาพด้านบน ปริมาณน้ำฝนในปีพ.ศ.2565 (ถึงวันที่ 18 กันยายน) นั้นอยู่ที่ 600-3000 มิลลิเมตร และปริมาณน้ำฝนในปีพ.ศ.2566 (ถึงวันที่ 18 กันยายน) อยู่ที่ 200-3000 มิลลิเมตร เมื่อเปรียบเทียบกับค่าปกติของปริมาณน้ำฝนแล้ว พบว่าปริมาณน้ำฝนสะสมของปีพ.ศ.2566 ลดลงโดยเฉลี่ย 200 มิลลิเมตร

หมายเหตุ : ค่าปกติ คือ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยภายในระยะเวลา 30 ปี (พ.ศ. 2524-2553)

การพยากรณ์อากาศ

เดือนตุลาคมเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจากฤดูฝนไปสู่ฤดูหนาว ส่งผลให้อาจมีสภาพอากาศแปรปรวน โดยมีการคาดการณ์ว่าปริมาณน้ำฝนสุทธิของประเทศไทยอาจต่ำกว่าค่าปกติประมาณ 10% และมีอุณหภูมิเฉลี่ย*สูงขึ้น อย่างไรก็ตามลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้อาจส่งผลให้เกิดฝนตกหนักในบางพื้นที่

หมายเหตุ : อุณหภูมิเฉลี่ย คือ อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีภายในระยะเวลา 30 ปี (พ.ศ. 2524-2553)

แผนภาพที่ 2 : พยากรณ์อากาศเดือนตุลาคม (ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา)

สถานการณ์เอลนีโญ

เอลนีโญเป็นปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นกว่าค่าปกติในมหาสมุทรแปซิฟิกตั้งแต่บริเวณใกล้เส้นวันที่ไปจนถึงชายฝั่งของอเมริกาใต้และคงอยู่เช่นนั้นประมาณหนึ่งปี ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศโลก ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คาดว่าปริมาณฝนอาจลดลงและเกิดภัยแล้ง และจากค่าดัชนี ONI ที่แสดงในรูปด้านล่าง พบว่าแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเล (SST) ซึ่งสูงกว่า 0.5 เป็นอย่างต่ำในช่วงเดือนเมษายน-เดือนมิถุนายน หากข้อมูล SST ของเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมยังคงมีแนวโน้มดังกล่าว อาจสามารถยืนยันได้ว่าเกิดเอลนีโญจริง นอกจากนี้ หากเปรียบเทียบข้อมูล SST ของปีนี้กับปีพ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นปีที่ประสบปัญหาภัยแล้งมากที่สุดช่วงหนึ่งของประเทศไทย ค่าต่าง ๆ จะยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า โดยกรมอุตุนิยมวิทยาระบุว่า ประเทศไทยจะเผชิญกับปรากฏการณ์เอลนิโญตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายน – เดือนมีนาคม ปีพ.ศ. 2567 เป็นอย่างต่ำ ซึ่งอาจนำไปสู่ภัยแล้งได้

เมื่อมองย้อนกลับไปในปีพ.ศ. 2558 ภัยแล้งที่รุนแรงนั้นส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อประเทศไทย ดังนี้

  • ปริมาณฝนรายปีต่ำที่สุดที่เคยมีมานับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2524
  • ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนขนาดใหญ่ทั้งหมดอยู่ในระดับต่ำอย่างมาก
  • เหตุการณ์ไฟป่าเพิ่มขึ้น นำไปสู่ปัญหามลพิษทางอากาศ
  • ระดับน้ำในแม่น้ำสายหลักบางสายลดต่ำลง
  • ผลผลิตทางการเกษตรลดลงอย่างมีนัยสำคัญและราคาผลผลิตหลายรายการเพิ่มสูงขึ้น
  • กำลังการผลิตในระบบชลประทานของกรุงเทพฝั่งตะวันออกและจังหวัดปทุมธานียังคงขาดแคลน อีกทั้งยังพบปัญหาเกี่ยวกับการประปาอุตสาหกรรมในจังหวัดลำพูน

ตารางที่ 1 : ค่าดัชนี ONI (ที่มา : NOAA)

          IEAT (การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย) คาดการณ์ว่าปรากฏการณ์เอลนีโญในปีนี้จะไม่รุนแรงมากนัก และ FTI (สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย) กล่าวว่าภาคเอกชนได้ทำการสังเกตการณ์สถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด และเตือนให้ภาครัฐเตรียมพร้อมสำหรับภัยแล้งระยะยาว ซึ่งอาจกินระยะเวลาถึง 2-3 ปี โดยหากสถานการณ์ภัยแล้งไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม อาจส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม กระดาษ ปิโตรเคมี สิ่งทอ โลหะ พลังงาน และเครื่องใช้ไฟฟ้าได้

ช่วงภัยแล้งปีพ.ศ. 2558 โรงงานหลายแห่งใช้มาตรการต่าง ๆ ในการรับมือ เช่น การนำน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่ การซื้อน้ำอุตสาหกรรมจากบริษัทเอกชน ซึ่งสิ่งสำคัญสำหรับบริษัทเหล่านี้ในการรับมือต่อภัยแล้ง คือ การสังเกตการณ์สภาพอากาศ และให้ความสำคัญกับข้อมูลระดับน้ำของแหล่งน้ำอุตสาหกรรมที่จะนำมาใช้ในนิคมอุตสาหกรรม รวมถึงมาตรการสนับสนุนจากรัฐบาลและหน่วยงานเกี่ยวกับอุตสาหกรรม

ปริมาณน้ำกักเก็บ (เขื่อนสิริกิต์และเขื่อนภูมิพล)

แผนภาพที่ 3 : ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนสิริกิต์ (52%) ณ วันที่ 18 กันยายน
(ที่มา : ระบบคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ)

แผนภาพที่ 4 : ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนภูมิพล (45%) ณ วันที่ 18 กันยายน
(ที่มา : ระบบคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ)

          ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเขื่อนสิริกิติ์นั้นเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมามีปริมาณน้ำกักเก็บเพิ่มขึ้นจาก 38% เป็น 52% โดยที่ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนทั้งสองแห่งยังคงสูงกว่าปริมาณน้ำกักเก็บในปี พ.ศ. 2558

ปริมาณน้ำกักเก็บ (เขื่อนป่าสักและเขื่อนแควน้อย)

 

แผนภาพที่ 5 : ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนป่าสัก (10%) ณ วันที่ 18 กันยายน
(ที่มา : ระบบคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ)

แผนภาพที่ 6 : ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนแควน้อย (33%) ณ วันที่ 18 กันยายน
(ที่มา : ระบบคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ)

          แนวโน้มของปริมาณน้ำกักเก็บในเขื่อนป่าสักเปลี่ยนจากลดลงเป็นเพิ่มขึ้นเนื่องจากปริมาณน้ำฝน อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำกักเก็บยังคงอยู่ในระดับวิกฤตซึ่งไม่เพียงพอต่อการใช้งานในกิจกรรมทางการเกษตร นอกจากนี้ปริมาณน้ำกักเก็บในเขื่อนแควน้อยก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน

กระแสน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน

ระดับน้ำโดยรวมในแม่น้ำปิง วัง ยม และน่าน เพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับภาคเหนือในเดือนที่ผ่านมา นอกจากนี้ระดับน้ำในสถานีวัดระดับน้ำส่วนใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และระดับน้ำในจังหวัดสุโขทัยอยู่ในระดับวิกฤติ

แผนภาพที่ 7 : สถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ณ วันที่ 18 กันยายน 2566
(ที่มา : ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ : SWOC)

หมายเหตุ :  – ตัวเลขในวงเล็บแสดงถึงอัตราการไหลของน้ำในหน่วย ลูกบาศก์เมตร/วินาที
                    – ตัวเลขที่ขีดเส้นใต้แสดงระดับน้ำที่สูงกว่า (+) หรือต่ำกว่า (-) เทียบกับฝั่งแม่น้ำ โดยมีหน่วยเป็นเมตร
                    – ระดับน้ำ U/S และ D/S มีหน่วยเป็นเมตร

กระแสน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง

              ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างมีความใกล้เคียงกับระดับน้ำในเดือนที่ผ่านมา อัตราการไหลของแม่น้ำเจ้าพระยาด้านล่างเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นจาก 55 ลบ.ม./วินาที ในเดือนมิถุนายน เป็น 380 ลบ.ม./วินาที ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบนมีปริมาณน้ำสูง อย่างไรก็ตามสถานการณ์ดังกล่าวไม่มีความน่ากังวลแต่อย่างใด

แผนภาพที่ 8 : สถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ณ วันที่ 18 กันยายน 2566
(ที่มา : ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ : SWOC)

หมายเหตุ :  ตัวเลขสีดำแสดงถึงอัตราการไหลของน้ำในหน่วย ลูกบาศก์เมตร/วินาที
                     – ตัวเลขในวงเล็บแสดงถึงอัตราการไหลของน้ำในหน่วย ลูกบาศก์เมตร/วินาที
                     – ตัวเลขที่ขีดเส้นใต้แสดงระดับน้ำที่สูงกว่า (+) หรือต่ำกว่า (-) เทียบกับฝั่งแม่น้ำ โดยมีหน่วยเป็นเมตร

 

อ้างอิง

http://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/yearRain.php

https://www.tmd.go.th/forecast/monthly

https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/judprakai/1078941

https://origin.cpc.ncep.noaa.gov/products/analysis_monitoring/ensostuff/ONI_v5.php

https://www.posttoday.com/general-news/699024
https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1082186

http://water.rid.go.th/flood/flood/daily.pdf
https://www.thaiwater.net/water/dam/large

http://water.rid.go.th/flood/plan_new/chaophaya/Chao_up18092023.jpg

http://water.rid.go.th/flood/plan_new/chaophaya/Chao_low18092023.jpg

 

 

 

AUTHOR

Sutiwat Prutthiprasert